เครื่องแต่งกายไทยในรัชกาลที่6
![ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องแต่งกายไทยภาคกลาง](https://f.ptcdn.info/261/042/000/o6gbep1yr1b0VOS72Xd-o.jpg)
การแต่งกายของสตรี ต้นรัชกาลที่ 6 ยังคงนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อระบายลูกไม้ แต่คอจะลึกกว่าเก่า และ นิยมแขนยาวเสมอศอก แขนไม่พองมาก และ ไม่รัด ปลายแขน เป็นชั้นๆ มีผ้าสไบพาดไหล่โดยรอบ ตอนหัวไหล่ ติดเข็มกลัด แล้วปล่อยให้หย่อนลงมา รวบชายสไบไว้ข้างลำตัว ทิ้งชายยาวมีการใช้ ผ้าแพรพิมพ์ดอก เป็นแพรสะพาย นอกเหนือจากผ้าแพรบาง หรือ ผ้าลูกไม้อย่างสมัยก่อน ต่อมาเริ่มนุ่งซิ่น ตามพระราชนิยม ในรัชกาลที่ 6 นิยมผ้าซิ่น มีลายเชิง งดงามแบบเสื้อจึงเปลี่ยนไปเพื่อให้เหมาะสม สำหรับใส่เข้าชุดกับผ้าซิ่น เสื้อระบายลูกไม้ เป็นชั้น หรือเชิง ซึ่งนิยมกันมาแต่ เดิมจึงเสื่อมความนิยมลงมา เป็นผ้าแพร ผ้าโปร่งบาง หรือผ้าพิมพ์ดอก คอเสื้อกว้างขึ้นอีก และแขนเสื้อสั้น ประมาณต้นแขน นอกจากนี้ ยังตบแต่งด้วยเสื้อ ตามความพอใจ ของผู้สวมใส่ เมื่อหันมานุ่งซิ่น แล้วก็ไม่นิยมสะพายแพรอีกต่อไป การสะพายแพร ซึ่งพัฒนา มาจาก การห่มสไบเฉียง ตามลักษณะ การแต่งกายแบบ สตรีไทยแต่โบราณ จึงถูกยกเลิกไป โดยปริยาย อาจเป็นเพราะ เห็นว่าตัวเสื้อ ”เป็นแหม่ม” อย่างเต็มที่แล้ว การสะพาย แพรดูจะไม่เข้าชุดกัน สตรีสมัยนี้ยังคงสวมถุงน่อง และรองเท้าส้นสูง แต่ถุงน่อง ไม่นิยม ที่เป็นผ้าโปร่ง มีลวดลายหรือ ปักดิ้นอย่างแต่ก่อน หันไปนิยมถุงน่อง เป็นสีพื้นธรรมดา ให้เข้ากับสีผ้าซิ่นหรือสีเสื้อแทน
ทางด้านทรงผม ในระยะแรก มีพระราชดำริให้สตรี ในราชสำนัก ปล่อยผมยาวแบบตะวันตก แทนการไว้ ทรงดอกกระทุ่ม ต่อมาก็เกล้าผมยาวนั้น ตลบไว้ที่ท้ายทอย เรียกว่า ”ผมโป่ง” เพราะบางคน ผมยาวไม่พอเกล้า ก็จะทำให้กล้อน ผมรองภายใน ทำให้ผมเดิม โป่งออกมา
นอกจากการไว้ผมแล้ว บางคนนิยมไว้ ” ผมบ๊อบ ” ตัดผมยาวเสมอคอ ผมข้างๆ ตัดให้ดูเป็นจอนหู ถ้าจอนใหญ่มาก เรียกว่า ”บ๊อบหู”
ในสมัยนี้ นิยมใช้เครื่องประดับคาดที่ศรีษะ ผู้ริเริ่มคือ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระวรกัญญาปทาน เครื่องประดับคาดที่ศรีษะนี้ มีตั้ง แต่เป็นผ้าชิ้นเล็กยาวปักดิ้น ผ้าพื้นธรรมดา ทองคำขาวประดับเพชร ไข่มุกสร้อย หลายสาย แล้วแต่จะเห็นว่าแบบใด เข้ากับตัวเสื้อ เครื่องประดับอื่นๆ ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นิยมเครื่องประดับ ที่มาจาก ตะวันตก เช่น นาฬิกาข้อมือ สร้อยคอเล็ก ห้อยล๊อกเก็ต แทนการห้อยจี้ อันเป็นเครื่องประดับ แบบไทย แต่เดิม และนิยมขัดฟันจนขาว ไม่กินหมากอย่างก่อน
ทางด้านทรงผม ในระยะแรก มีพระราชดำริให้สตรี ในราชสำนัก ปล่อยผมยาวแบบตะวันตก แทนการไว้ ทรงดอกกระทุ่ม ต่อมาก็เกล้าผมยาวนั้น ตลบไว้ที่ท้ายทอย เรียกว่า ”ผมโป่ง” เพราะบางคน ผมยาวไม่พอเกล้า ก็จะทำให้กล้อน ผมรองภายใน ทำให้ผมเดิม โป่งออกมา
นอกจากการไว้ผมแล้ว บางคนนิยมไว้ ” ผมบ๊อบ ” ตัดผมยาวเสมอคอ ผมข้างๆ ตัดให้ดูเป็นจอนหู ถ้าจอนใหญ่มาก เรียกว่า ”บ๊อบหู”
ในสมัยนี้ นิยมใช้เครื่องประดับคาดที่ศรีษะ ผู้ริเริ่มคือ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระวรกัญญาปทาน เครื่องประดับคาดที่ศรีษะนี้ มีตั้ง แต่เป็นผ้าชิ้นเล็กยาวปักดิ้น ผ้าพื้นธรรมดา ทองคำขาวประดับเพชร ไข่มุกสร้อย หลายสาย แล้วแต่จะเห็นว่าแบบใด เข้ากับตัวเสื้อ เครื่องประดับอื่นๆ ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นิยมเครื่องประดับ ที่มาจาก ตะวันตก เช่น นาฬิกาข้อมือ สร้อยคอเล็ก ห้อยล๊อกเก็ต แทนการห้อยจี้ อันเป็นเครื่องประดับ แบบไทย แต่เดิม และนิยมขัดฟันจนขาว ไม่กินหมากอย่างก่อน
ด.ญ.วริษฐา สอนศรี ม.2/1 เลขที่22
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น